ลักษณะการประกอบธุรกิจ


บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) ดำเนินธุรกิจเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการ จัดการให้มีการประกันภัยโดยตรง ซึ่งมุ่งเน้นการขายประกันภัยรถยนต์เป็นหลัก และได้ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ใน บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด (“ASNL” หรือ “บริษัทย่อย”) ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นนายหน้าประกันชีวิต โดยได้ใช้ ฐานข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายสำหรับการขายประกันวินาศภัยและประกันชีวิตที่ซื้อจากบริษัทภายนอกและจากความ ร่วมมือกับบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งซึ่งบริษัทเรียกว่า “Partner” เพื่อใช้ติดต่อและเสนอขายประกันภัยประเภทต่างๆ ผ่านช่องทางโทรศัพท์ (Telemarketing) ดังนั้น รายได้ของบริษัทและบริษัทย่อยจึงมาจาก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจนายหน้าประกัน วินาศภัยที่เป็นการขายประกันรถยนต์และธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต รวมทั้ง การประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ โดย ลักษณะรายได้ที่ได้รับจะแบ่งเป็นรายได้ค่านายหน้าประกันภัยและ รายได้ค่าบริการ และรายได้อื่นๆ ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้

บริษัทมีรายได้ค่าบริการจากการดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยซึ่งเป็นการขายประกันภัยรถยนต์เป็นหลักทั้งแบบ ภาคบังคับและแบบภาคสมัครใจ และปัจจุบัน บริษัทมีคู่ค้าที่เป็นบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของประเทศจำนวน 16 รายสำหรับการขายประกันวินาศภัยประเภทต่างๆ ให้แก่ลูกค้าของบริษัท ทั้งนี้รายได้ค่าบริการดังกล่าวคิดเป็นประมาณร้อยละ 65 - 76 ของรายได้รวมในช่วงปี 2556-2558 โดยรายได้ค่าบริการดังกล่าวสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
  1. รายได้ค่านายหน้าประกันภัยมาจากการขายประกันวินาศภัยประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการประกันภัยรถยนต์ทั้ง แบบภาคบังคับและแบบภาคสมัครใจ โดยบริษัทมีพนักงานขาย (Telesales Representative หรือ TSR) ที่ได้รับใบอนุญาต เป็นนายหน้าประกันวินาศภัย จาก คปภ. ทำหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความต้องการซื้อ ประกันรถยนต์ทั้ง แบบภาคบังคับและแบบภาคสมัครใจซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากคู่ค้าบริษัทประกันวินาศภัยของบริษัท และภายหลังจากที่กลุ่ม ลูกค้าเป้าหมายได้ตกลงที่จะซื้อประกันวินาศภัยประเภทต่างๆ ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพของบริษัทจะทำการตรวจสอบคุณภาพ งานขายของพนักงานขายในข้อมูลบันทึกเสียงสนทนากับลูกค้า (File เสียง) เนื่องจาก คปภ. กำหนดให้นายหน้าขายประกัน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ต้องบันทึก File เสียงไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งเป็นไปตามประกาศของคปภ. เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันวินาศภัย และ ธนาคาร พ.ศ. 2552 หลังจากนัน้ บริษัทจะนำส่งรายชื่อลูกค้ารายดังกล่าวให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการ ออกกรมธรรม์ให้กับลูกค้าต่อไป ทั้งนี้บริษัทจะได้รับค่าตอบแทนเป็นค่านายหน้าจากบริษัทประกันวินาศภัยในอัตราที่ตกลง ร่วมกันกับบริษัทประกันภัยแต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ร้อยละ 12 และร้อยละ 18 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยสำหรับการขาย ประกันภัยรถยนต์แบบภาคบังคับและแบบภาคสมัครใจ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ คปภ. เรื่อง อัตราค่าจ้างหรือค่า บำเหน็จ สำหรับตัวแทนประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันวินาศภัย พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตาม อัตราค่านายหน้าดังกล่าว อาจน้อยกว่าหรือเท่ากับอัตราตามที่ คปภ. ได้กำหนดไว้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทประกันภัยของ บริษัท โดยบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งจะมีการทำสัญญาและระบุอัตราค่านายหน้าไว้อย่างชัดเจน
  2. รายได้ค่าบริการอื่นเป็นค่าบริการที่บริษัทได้ทำหน้าที่ประสานงาน รวมทั้งการให้บริการก่อนและหลังการขาย ประกันวินาศภัยประเภทต่างๆ เช่น การคัดเลือกกลุ่มลูกค้าตามยี่ห้อรถยนต์ให้กับบริษัทประกันวินาศภัย การให้บริการลูกค้า ในการออกกรมธรรม์ประกันรถยนต์ภาคบังคับ และการให้บริการจัดส่งกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ทั้งภาคบังคับและภาคสมัคร ใจ การตรวจสอบคุณภาพงานขายของพนักงานขายในข้อมูลบันทึกเสียงที่โทรศัพท์ติดต่อลูกค้า ซึ่ง คปภ. ได้กำหนดให้การ ขายประกันวินาศภัยผ่านช่องทางโทรศัพท์ต้องมีการบันทึกเสียงเป็นหลักฐาน และการให้บริการศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Services) เป็นต้น ทั้งนี้รายได้ค่าบริการอื่นเป็นบริการเสริมที่บริษัทได้ให้บริการกับลูกค้าและคู่ค้าที่เป็นบริษัท ประกันวินาศภัย ซึ่งขึ้นกับขอบเขตการให้บริการ ความสัมพันธ์อันดี และการเจรจาต่อรอง ทั้งนี้รายได้จากการให้บริการ ดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานราชการ
บริษัทมีนโยบายให้บริษัท เอเอสเอ็น ไลฟ์ โบรกเกอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันชีวิต ประเภทต่างๆ โดบบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นคู่ค้าของบริษัทย่อยเป็นผู้กำหนดรูปแบบของกรมธรรม์ที่มีความแตกต่างกับ ตัวแทนประกันชีวิตทั่วไป และเหมาะสำหรับนายหน้าประกันชีวิตที่เป็นนิติบุคคลที่ใช้พนักงานขายผ่านทางโทรศัพท์ (Telemarketing) โดยลักษณะของกรมธรรม์จะมีรูปแบบง่าย ไม่ซับซ้อน และสามารถทำความเข้าใจได้ภายในระยะเวลาสั้น เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2557 บริษัทย่อยได้มีการทำ สัญญาเป็นนายหน้าให้กับบริษัทประกันชีวิตเพิ่มขึ้น 1 บริษัท รวมเป็น 3 บริษัท อย่างไรก็ตาม ต่อมา ในปี 2558 บริษัทย่อย ได้ยกเลิกการเป็นนายหน้าให้กับบริษัทประกันชีวิตดังกล่าว ทำให้ ณ ปัจจุบัน บริษัทย่อยมีคู่ค้าที่เป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ ของประเทศจำนวน 2 รายสำหรับการขายประกันชีวิตให้ลูกค้า ทั้งนี้รายได้ค่าบริการในธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตคิดเป็น ประมาณร้อยละ 21 - 26 ของรายได้รวมในช่วงปี 2556-2558 ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
  1. รายได้ค่านายหน้าประกันชีวิตมาจากการขายประกันชีวิตประเภทต่างๆ โดยบริษัทย่อยมีพนักงานขาย (Tele Sale Representative หรือ TSR) ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตจาก คปภ. ทำหน้าที่โทรศัพท์ติดต่อกลุ่มลูกค้า เป้าหมายที่มีความต้องการซื้อประกันชีวิตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากคู่ค้าบริษัทประกันชีวิตของบริษัทย่อย และภายหลังจากที่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ตกลงที่จะซื้อประกันชีวิตประเภทต่างๆ และผ่านการตรวจสอบคุณภาพของพนักงานขายในข้อมูล บันทึกเสียงสนทนากับลูกค้า (ไฟล์เสียง) โดยฝ่ายตรวจสอบคุณภาพของบริษัทย่อยแล้ว บริษัทย่อยจะนำส่งรายชื่อลูกค้าราย ดังกล่าวให้กับบริษัทประกันชีวิต เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการออกกรมธรรม์ให้กับลูกค้าต่อไป ทั้งนี้บริษัทย่อยจะได้รับ ค่าตอบแทนเป็นค่านายหน้าประกันชีวิตจากบริษัทประกันชีวิตในอัตราตามที่ตกลงกับบริษัทประกันชีวิตแต่ละราย โดยมี มูลค่าไม่เกินร้อยละ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยในปีแรก และทยอยลดลงในแต่ละปีถัดไป กล่าวคือ ปีที่ 2 ต้องได้รับไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 40 ของอัตราค่าจ้างหรือบำเหน็จปีแรก และปีที่ 3 ต้องได้รับไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 25 ของอัตราค่าจ้างหรือบำเหน็จปี แรก และปีที่ 4 เป็นต้นไป กำหนดให้ได้รับตามความเหมาะสม (แต่บริษัทประกันชีวิตสามารถจ่ายบำเหน็จหรือค่าตอบแทน อื่นที่จ่ายเพื่ออัตราความคงอยู่ 1 ของกรมธรรม์ประกันชีวิต หรือค่าส่งเสริมผลงานได้) ซึ่งเป็นไปตามประกาศของ คปภ. เรื่อง อัตราค่าจ้างหรือค่าบำเหน็จ สำหรับตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต พ.ศ. 2551
  2. นอกจากนั้นประกาศของ คปภ. ยังอนุญาตให้บริษัทประกันชีวิตสามารถจ่ายบำเหน็จหรือค่าตอบแทนอื่นที่จ่าย เพื่ออัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันภัยหรือค่าส่งเสริมผลงานได้อีก ซึ่งบริษัทย่อยได้รับรายได้ค่าบริการอื่นจากบริษัท ประกันชีวิตสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การตรวจสอบคุณภาพพนักงานขายในข้อมูลบันทึกเสียงสนทนาทาง โทรศัพท์ติดต่อลูกค้าซึ่ง คปภ. ได้กำหนดให้การขายประกันชีวิตผ่านช่องทางโทรศัพท์ต้องมีการบันทึกเสียงเป็นหลักฐาน และ ติดตามการจัดส่งกรมธรรม์ให้กับลูกค้า เป็นต้น